การติดผนึก และฝังหินเครื่องประดับ

การติดผนึก และฝังหินเครื่องประดับ

การทำเครื่องประดับ ด้วยวิธีติดผนึก
     การทำเครื่องประดับด้วยวิธีติดผนึก   เป็นวิธีที่นิยมกันอีกวิธีหนึ่ง   เพราะความง่าย    และรวดเร็วในการทำ   การติดต่อก็ใช้กาว ซึ่งได้แก่ กาวประเภทติดโลหะ เป็นกาวที่มีส่วนผสมของพลาสติกอยู่ด้วย และติดกับวัสดุได้ทุกชนิด แต่ข้อเสีย ของกาวประเภทนี้ ก็คือ  เมื่อได้รับความร้อนมาก ๆ  จะละลายได้   การทำเครื่องประดับแบบติดผนึกนี้   นิยมใช้กับโลหะต่างชนิดกัน เพื่อให้เห็นความ แตกต่างของผิวอย่างชัดเจน วิธีนี้อาจใช้ไม้ต่อประกอบด้วยก็ได้ เช่น ให้แผ่นไม้อยู่ล่างสุด และโลหะอยู่ด้านบน เป็นต้น
     การออกแบบเครื่องประดับชนิดนี้   จะใช้ได้ดีในกรณีที่เครื่องประดับนั้น   เป็นเข็มกลัดติดเสื้อ   เป็นจี้ห้อยคอ   หรือเครื่องประดับ อื่น ๆ   ที่ต้องการแสดงผิวด้านหน้า ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึง รูปทรงของส่วนรวมทั้งหมด มองปัญหาของสิ่งที่จะเป็นพื้น และสิ่งที่ จะเป็นรูปประกอบกันไปด้วย   ผู้ออกแบบอาจจะต้องใช้ตะปูทองเหลือง   มาช่วยเพิ่มให้การออกแบบมีจุดสนใจได้   การนำตะปู ทองเหลืองมาใช้ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องผิวหน้าของโลหะที่ราบเรียบ
วิธีทำเครื่องประดับ ติดผนึก
     -    หลังจากออกแบบและขัดโลหะตามขั้นตอนแล้ว   ฉลุลวดลายต่าง ๆ   ตามที่ได้ออกแบบไว้
     -    นำแผ่นโลหะแต่ละชนิดมาติดผนึกด้วยกาว   รอทิ้งไว้ให้แห้ง   ใช้สว่านเจาะนำก่อนที่จะติดหมุดทองเหลือง   ขนาดของ ดอกสว่านควรเท่ากับหมุดที่จะฝัง   ลองใส่หมุดลงไปในรูสว่านที่เจาะ   ตัดปลายหมุดให้สั้นเท่ากับความยาวของสว่านที่เจาะ ใช้ค้อนตอกย้ำให้แน่น   ถ้าตะปูยาวเลยแผ่นไม้   ให้ตัดปลายตะปูหมุดให้เท่ากับไม้ ใช้ค้อนค่อย ๆ  ตอกด้านหลังเบา ๆ ให้ปลายตะปู แผ่ออก   และตรึงแผ่นไม้ไว้แน่น
     -    ด้านหลังติดเข็มกลัดกับแผ่นไม้โดยใช้กาวติด และทิ้งไว้ให้แห้งสนิทจึงนำไปใช้งานได้
การติดผนึกด้วยการ บัดกรี      การติดผนึกเครื่องประดับที่เป็นโลหะ ด้วยวิธีบัดกรี  ( Soldering )   เป็นการต่อประกอบแบบถาวร   ข้อดีของการติดผนึก แบบบัดกรีคือ สิ่งที่บัดกรีแล้วไม่หลุดได้ง่ายๆ นอกจะใช้ความร้อนสูง หรือตอกอย่างรุนแรง หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีฉลุแล้ว สิ่งที่ควรฝึกในขั้นต่อไปคือ ทักษะในการบัดกรีโลหะ ซึ่งผู้เรียนจะต้องรู้วิธีใช้เครื่องมือให้เป็นก่อนจึงจะลงมือบัดกรี
     เครื่องมือและอุปกรณ์ในการบัดกรี
     -    เครื่องเป่าแล่นประกอบไปด้วย   ขวดใส่แอลกอฮอล์  สายยาง   เครื่องอัดลม   ชนิดใช้เท้าเหยียบ  หัวเป่า   ( เครื่องมือดังกล่าว ราคาไม่แพง หาได้ตามร้านขายเครื่องมือเครื่องประดับทั่วไป ) หรือถ้าไม่ใช้เครื่องเป่าแล่น จะใช้เครื่องมือบัดกรีชนิดที่เป็นแก๊ส ก็ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย   หัวบัดกรี  ถังแก๊ส   และที่จุดแก๊ส
     -   กระดานทนไฟ
     -    ตะแกรงเหล็กและขาตั้ง
     -   คีมจับของร้อน
     -   น้ำยาประสาน
     -   ถังน้ำ
     -   ผงเพ่งแซ
     ส่วนประกอบของน้ำประสาน ถ้าใช้กับโลหะต่างชนิดกันจะมีส่วนผสมไม่เหมือนกัน เช่น
บัดกรีทองคำ ใช้ผงทองคำ 70%
                            นาค 20%
                            เงิน 10%
บัดกรีเงิน        ใช้เงิน 60%
              ทองเหลือง 40%
บัดกรีนาก        ทองคำ 30%
                   ทองแดง 35%
                          เงิน 35%
     หลอมรวมกันแล้วตะไบให้เป็นผงละเอียด ใส่ผงเพ่งแซผสมลงไปด้วยเพื่อช่วยในการหลอมละลาย
วิธีทำเครื่องประดับ ที่ติดเสื้อด้วยวิธีบัดกรี      -    ออกแบบรูปร่างของสิ่งที่จะทำไว้ก่อน ขนาดที่ออกแบบควรให้ขนาดเท่ากับของจริงที่จะทำ
     -    ขัดโลหะที่จะทำให้เรียบร้อย ขัดทั้งกระดาษทรายและขัดยาดินเหลือง ยาดินแดง ด้วยเครื่องขัดหัวสักหลาด
     -    นำแผ่นโลหะที่จะบัดกรี มาวางซ้อนกัน   ใส่ผงบัดกรีทองคำ  นาก   ทองขาว   หรือเงินที่ต้องการให้บัดกรีติดกัน โดยดูว่า โลหะที่จะบัดกรีนั้นเป็นอะไร   ใส่ผงบัดกรี   ตรงบริเวณที่ต้องการจะบัดกรี   เป่าความร้อนด้วยหัวเป่าแล่น หรือหัวเป่าซึ่งให้ ความร้อนจากแก๊ส พิจารณาดูผงบัดกรีละลาย และแผ่นโลหะแดง จึงหยุดการให้ความร้อน
     -    คีบแผ่นโลหะที่กำลังร้อนแดงมาใส่ในถังน้ำเย็น   ทิ้งไว้สักครู่จึงนำขึ้นมาดูว่าติดสนิทดีหรือไม่
     -    นำไปขัดมัน ด้วยเครื่องขัดหัวสักหลาดอีกครั้งหนึ่ง   ในกรณีที่โลหะไม่สะอาดให้ล้างขัดถูด้วยแปรงไนลอนนุ่ม และน้ำยา ทำความสะอาดให้สิ่งสกปรกออกให้หมดแล้วจึงนำไปขัดด้วยเครื่องขัดสักหลาดขั้น สุดท้าย
     -    ในกรณีที่ต้องติดเข็มกลัดด้านหลัง ให้นำเข็มกลัดมาบัดกรีในตอนหลัง
วิธีบัดกรีโลหะ      -    วางแผ่นโลหะที่จะบัดกรีบนตะแกรงเหล็ก เพื่อให้สามารถเป่าความร้อนได้ทั้งข้างบนและข้างล่าง
     -    ใส่น้ำประสานตามชนิดของโลหะ เช่น บัดกรีเงินจะใช้กับแผ่นโลหะที่เป็นเงิน ใส่ผงประสานเพียงเล็กน้อย
     -    เป่าด้วยไฟ ถ้าเป็นเครื่องเป่าแล่นให้ลดความแรงที่หัวจุดก่อน ใช้เท้าเหยียบให้ลมขึ้นแล้วใช้ไม้ขีดจุดที่หัว ถ้าเป็นหัวเป่าไฟ ชนิดแก๊ส ปรับหัวแก๊สแล้วจุดไฟได้เลย
     -    ถ้าแผ่นโลหะหนามาก ให้ความร้อนทั้งด้านบนและด้านล่าง
การทำเครื่องประดับ ด้วยวิธีฝังหิน
     วิธีฝังหิน ( Bezel ) เป็นวิธีหนึ่งที่เพิ่มความสวยงาม และสีสรรพ์อย่างชัดเจนให้กับผลงาน สีของหินเป็นสิ่งหนึ่ง ที่เพิ่มการ ดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี และถ้าได้รับการออกแบบสวยงามกลมกลืนด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เครื่องประดับชิ้นนั้น เด่นชัด มีความสมบูรณ์อย่างน่าสนใจ   ซึ่งความสมบูรณ์ในที่นี้ หมายถึง   ออกแบบได้งดงามสะดุดตา   สมคุณค่า ทั้งทางด้านวัสดุ และประโยชน์ใช้สอย
     การออกแบบเครื่องประดับที่ใช้หินฝัง   การออกแบบโลหะมักจะนิยมใช้ผิวโลหะเรียบ เน้นจุดเด่นที่หิน   และถ้าหินนั้นสีสวย หรือเป็นหินที่มีราคาแพงด้วยแล้ว   จะออกแบบให้หินเด่นชัด กว่าส่วนอื่น ๆ   หินที่ใช้ในการทำเครื่องประดับ   มีทั้งหินแท้ และหินเทียม   หินแท้จะมีราคาแพงกว่าหินเทียมมาก   หินแท้ได้แก่  เพชร  พลอยสี   มรกต  ทับทิม  บุษราคัม   ฯลฯ  หินเทียม ได้แก่ การใช้แก้วมาอัด ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีสีเหมือนของจริงมากที่สุด ถ้าดูเพียงผิวเผินจะไม่รู้ว่าเป็นของแท้ หรือของเทียม จนกว่าจะใช้แว่นขยายช่วยส่องดูจึงจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
     การเจียระไนหินมีหลายแบบ แต่แบบที่นิยม และจัดว่ามีราคาได้แก่ การเจียระไนเป็นเหลี่ยม แบบเหลี่ยมชนิดกลม แบบเหลี่ยม ชนิดเมล็ดแดง แบบสามเหลี่ยม การเจียระไนแบบเหลี่ยมจะเพิ่มความแวววาวของหินได้มาก
     แบบการเจียระไนหินอีกแบบหนึ่งที่นิยมมาก ได้แก่ การเจียระไนแบบหลังเต่า มีลักษณะแบบกลมนูนไม่เป็นเหลี่ยม การเจียระไน แบบนี้ มักใช้กับหินที่ไม่มีราคามากนัก เช่น โป่งข่าม หินอ่อน หินสีต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากการเจียระไนหิน ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การออกแบบ และวิธีทำจึงไม่เหมือนกันด้วย
แบบการฝังหิน
     1. การฝังหินแบบหุ้มขอบหรือตะเข็บข้าง ( Closed Setting )
     2. การฝังหินแบบเกาะหรือแบบกรงเล็บ ( Claw Setting )
     3. การฝังหินแบบมงกฎ ( Crown Setting )
ชนิดของหิน และรูปแบบการเจียระไน      -    แบบหินชนิดทรงกลมขนาดต่างๆ กัน ซึ่งคิดหน้าตัดเป็นมิลลิเมตร
     -    แบบหินชนิดจัตุรัสขนาดต่างๆ คิดหน้าตัดเป็นมิลลิเมตร
     -    แบบหินชนิดทรงรีขนาดต่างๆ กัน ซึ่งคิดหน้าตัดเป็นมิลลิเมตร
การฝังหินแบบหุ้มขอบ
     เป็นการฝังหินแบบหุ้มขอบ ปิดขอบด้านข้างให้มิดชิด การปิดขอบอาจจะปิดทั้งด้านข้างและด้านล่าง หรือจะปิดเฉพาะด้านข้าง แต่ด้านล่างไม่ปิดก็ได้ เป็นการฝังหินที่มีความคงทนถาวรมาก สามารถติดหินได้มั่นคง แต่ข้อเสียคือ แสงสว่างเข้าไม่ได้ทุกด้าน ทำให้หินไม่แววาวเท่าที่ควร แต่ก็นิยมใช้กันมากทั่วไป
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการ ฝังหินแบบหุ้มขอบ
     -    แผ่นโลหะรีดหนาประมาณ 22 - 25 เกจ สำหรับทำเป็นตัวเครื่องประดับ เช่น แหวน หรือที่ติดเสื้อ
     -   แผ่นโลหะรีดบาง ขนาดความหนา 27 - 30 เกจ
     -    คันเลื่อยฉลุพร้อมใบเลื่อยฉลุโลหะ
     -   กระดาษทรายน้ำ เบอร์หยาบไปจนถึงเบอร์ละเอียด
     -   กระดาษขัดเงา
     -   สว่านมือ ไม้ชายธง ปากกาหนีบ
     -    เครื่องเป่าแล่นพร้อมหัวบัดกรีและคีมจับของร้อน
     -   น้ำยาประสาน พู่กัน อ่างน้ำเย็น
วิธีการฝังหินแบบหุ้มขอบ      -    ออกแบบเครื่องประดับเป็นที่ติดเสื้อ   จี้ห้อยคอ  กำไลข้อมือ  แหวน   อย่างใดอย่างหนึ่ง   การออกแบบควรใช้หินประกอบ ในการออกแบบไว้ด้วย และให้แบบเท่ากับหินที่จะใช้ทำจริง ๆ  ลงน้ำหนักลวดลายให้ชัดเจน
     -    ฉลุแผ่นโลหะตามแบบและขัดแผ่นโลหะตามลำดับขั้นตอนของการขัด ( ดูในหัวข้อการขัดโลหะ )
     -    ใช้กระดาษแข็งวัดที่ขอบหินด้านล่างของหินที่จะฝัง   และนำกระดาษมาวัด กับแผ่นโลหะที่รีดไว้บางขนาด  27 - 30  เกจ ตัดโลหะให้เท่ากับกระดาษ
     -    บัดกรีให้ปลายขอบติดกัน แล้วตัดให้เป็นรูปทรงของหิน ขัดให้รอยต่อหายไป
     -    วางขอบโลหะติดกับแผ่นโลหะ   ใส่ผงประสานข้างในวงขอบ   หลอมความร้อนจากข้างล่าง จากแผ่นโลหะที่วางซ้อน บัดกรีให้น้ำประสานละลาย   และนำไปขัดด้วยเครื่องขัดเงา
     -   ใส่หัวหินลงไป   และใช้เหล็กปลายมน   หรือด้ามไม้กดให้ตะเข็บโลหะหุ้มหินให้แน่น
     ก่อนบัดกรีให้ทาเคลือบด้วยน้ำยาขัดโลหะบรัสโซ   หลังจากบัดกรีแลัวให้นำไปล้างขัดด้วยส้มมะขาม ให้สิ่งสกปรกหลุดออกไป ให้หมด อย่าลงขัดด้วยกระดาษทรายอีก จะทำให้ผิวบัดกรีโลหะไม่เรียบ และถ้าจะติดเข็มกลัด ให้บัดกรีติดเข็มกลัด ก่อนที่จะนำมา บัดกรีใส่ขอบวงหิน การติดเข็มกลัดให้อ่านรายละเอียดในวิธีการติดเข็มกลัด ในกรณีที่หินมีลักษณะนูนต่ำ หยอดครั่ง รองให้พื้น สูงขึ้น เพื่อจะได้หนุนให้หินสูงขึ้นมีความสวยงาม ไม่จมลงไปในขอบซึ่งอาจจะทำให้ตะเข็บย่นได้
     ในกรณีที่หินคับเกินไป ดัดให้ขอบด้านที่จะใส่หินบานขยายออกเล็กน้อย และใช้กาวติดหินช่วยในบางส่วน ข้อสำคัญ ต้องซ่อน รอยติดให้มิดชิด ในกรณีที่หินหลวมเกินไปให้หนุนด้านข้างด้วยสักหลาดหรือครั่ง ติดกาวที่ด้านล่าง ไม่ให้ขยับเขยื้อนได้
การฝังหินแบบเกาะหรือ แบบกรงเล็บ      ในปัจจุบัน   การฝังหินแบบเกาะ   หรือแบบกรงเล็บเป็นที่นิยมมาก   เพราะเห็นความสวยงามของหิน ทั้งด้านหน้า  ด้านข้าง เมื่อส่องกับแสงสว่าง ยังมีความงดงามแวววาวมาก   แสดงเหลี่ยมการเจียระไนของหินได้เต็มที่   วิธีนี้นิยมใช้กับเครื่องประดับ ที่เป็นแหวน   มากกว่าเครื่องประดับอย่างอื่น   แบบเกาะมีหลายแบบ  เช่น   แบบเกาะชนิดมีสี่ขา  ห้าขา   หกขา  แบบเกาะมีทั้ง แบบกลม   และแบบเหลี่ยม   การจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหิน การทำขาเกาะหินมีทั้งแบบบัดกรี และแบบหล่อ เป็นรูปสำเร็จ สำหรับในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการเกาะหินแบบบัดกรีก่อน ส่วนการทำขาเกาะหินแบบหล่อจะขอกล่าวในวิธีการหล่อ
วิธีการฝังหินแบบเกาะหรือ แบบกรงเล็บ
     -    ออกแบบที่จะทำไว้ก่อน หินที่นำมาใช้นิยมชนิดเจียระไนแบบเหลี่ยม
     -    ตัดเส้นลวดซึ่งเป็นโลหะชนิดเดียวกับที่ใช้ทำตัวแหวน ลวดขนาดประมาณ 18 เกจ ตัดเส้นลวดขนาดความยาว 1/2 นิ้ว
     -    ตัดเส้นลวดให้เป็นรูปตัว  V   ทั้งหกอัน   และนำแต่ละอันมาวางเรียงต่อ ๆ กัน  ใส่น้ำยาประสานลงไป บัดกรีด้วยความร้อน ให้ก้านลวดติดกันทั้งหมด
     -    นำไปวางบนวงแหวนบัดกรีให้ติดกับวงแหวน ในขณะที่ทำให้วัดจากวงแหวนที่จะใส่ทุกครั้ง
     -    ตัดลวดให้เป็นวงกลม บัดกรีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง   และนำมาดัดให้กางออก   ขนานความกว้างให้เท่ากับขนาดของหินที่จะฝัง
     -    ตกแต่งด้วยสว่านไฟฟ้าชนิดที่ใช้ตกแต่ง ทำที่เกาะหินโดยเฉพาะ และในบางส่วน อาจจะตกแต่งด้วยใบเลื่อย เพื่อให้การ ฝังหิน กระชับ และเป็นหนามเตยสำหรับเกาะหินให้ติดอยู่ไม่หลุดง่าย
     -     กดหัวหินลงกับพื้นที่มีผ้านุ่ม ๆ  รองรับ   ให้หินพอดีกับขาที่ทำไว้
     -     ใช้คีมบีบให้ขาเกาะแน่นขึ้น   และใช้ตะไบตกแต่งให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่งได้
ที่มา: จากหนังสือ "ศิลปะเครื่องประดับ" โดย วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ
การทำเครื่องประดับ ด้วยวิธีติดผนึก      การทำเครื่องประดับด้วยวิธีติดผนึก   เป็นวิธีที่นิยมกันอีกวิธีหนึ่ง   เพราะความง่าย    และรวดเร็วในการทำ   การติดต่อก็ใช้กาว ซึ่งได้แก่ กาวประเภทติดโลหะ เป็นกาวที่มีส่วนผสมของพลาสติกอยู่ด้วย และติดกับวัสดุได้ทุกชนิด แต่ข้อเสีย ของกาวประเภทนี้ ก็คือ  เมื่อได้รับความร้อนมาก ๆ  จะละลายได้   การทำเครื่องประดับแบบติดผนึกนี้   นิยมใช้กับโลหะต่างชนิดกัน เพื่อให้เห็นความ แตกต่างของผิวอย่างชัดเจน วิธีนี้อาจใช้ไม้ต่อประกอบด้วยก็ได้ เช่น ให้แผ่นไม้อยู่ล่างสุด และโลหะอยู่ด้านบน เป็นต้น
     การออกแบบเครื่องประดับชนิดนี้   จะใช้ได้ดีในกรณีที่เครื่องประดับนั้น   เป็นเข็มกลัดติดเสื้อ   เป็นจี้ห้อยคอ   หรือเครื่องประดับ อื่น ๆ   ที่ต้องการแสดงผิวด้านหน้า ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึง รูปทรงของส่วนรวมทั้งหมด มองปัญหาของสิ่งที่จะเป็นพื้น และสิ่งที่ จะเป็นรูปประกอบกันไปด้วย   ผู้ออกแบบอาจจะต้องใช้ตะปูทองเหลือง   มาช่วยเพิ่มให้การออกแบบมีจุดสนใจได้   การนำตะปู ทองเหลืองมาใช้ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องผิวหน้าของโลหะที่ราบเรียบ
วิธีทำเครื่องประดับ ติดผนึก      -    หลังจากออกแบบและขัดโลหะตามขั้นตอนแล้ว   ฉลุลวดลายต่าง ๆ   ตามที่ได้ออกแบบไว้
     -    นำแผ่นโลหะแต่ละชนิดมาติดผนึกด้วยกาว   รอทิ้งไว้ให้แห้ง   ใช้สว่านเจาะนำก่อนที่จะติดหมุดทองเหลือง   ขนาดของ ดอกสว่านควรเท่ากับหมุดที่จะฝัง   ลองใส่หมุดลงไปในรูสว่านที่เจาะ   ตัดปลายหมุดให้สั้นเท่ากับความยาวของสว่านที่เจาะ ใช้ค้อนตอกย้ำให้แน่น   ถ้าตะปูยาวเลยแผ่นไม้   ให้ตัดปลายตะปูหมุดให้เท่ากับไม้ ใช้ค้อนค่อย ๆ  ตอกด้านหลังเบา ๆ ให้ปลายตะปู แผ่ออก   และตรึงแผ่นไม้ไว้แน่น
     -    ด้านหลังติดเข็มกลัดกับแผ่นไม้โดยใช้กาวติด และทิ้งไว้ให้แห้งสนิทจึงนำไปใช้งานได้
การติดผนึกด้วยการ บัดกรี
     การติดผนึกเครื่องประดับที่เป็นโลหะ ด้วยวิธีบัดกรี  ( Soldering )   เป็นการต่อประกอบแบบถาวร   ข้อดีของการติดผนึก แบบบัดกรีคือ สิ่งที่บัดกรีแล้วไม่หลุดได้ง่ายๆ นอกจะใช้ความร้อนสูง หรือตอกอย่างรุนแรง หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีฉลุแล้ว สิ่งที่ควรฝึกในขั้นต่อไปคือ ทักษะในการบัดกรีโลหะ ซึ่งผู้เรียนจะต้องรู้วิธีใช้เครื่องมือให้เป็นก่อนจึงจะลงมือบัดกรี
     เครื่องมือและอุปกรณ์ในการบัดกรี
     -    เครื่องเป่าแล่นประกอบไปด้วย   ขวดใส่แอลกอฮอล์  สายยาง   เครื่องอัดลม   ชนิดใช้เท้าเหยียบ  หัวเป่า   ( เครื่องมือดังกล่าว ราคาไม่แพง หาได้ตามร้านขายเครื่องมือเครื่องประดับทั่วไป ) หรือถ้าไม่ใช้เครื่องเป่าแล่น จะใช้เครื่องมือบัดกรีชนิดที่เป็นแก๊ส ก็ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย   หัวบัดกรี  ถังแก๊ส   และที่จุดแก๊ส
     -   กระดานทนไฟ
     -    ตะแกรงเหล็กและขาตั้ง
     -   คีมจับของร้อน
     -   น้ำยาประสาน
     -   ถังน้ำ
     -   ผงเพ่งแซ
     ส่วนประกอบของน้ำประสาน ถ้าใช้กับโลหะต่างชนิดกันจะมีส่วนผสมไม่เหมือนกัน เช่น
บัดกรีทองคำ ใช้ผงทองคำ 70%
                                       นาค 20%
                                       เงิน 10%
บัดกรีเงิน   ใช้เงิน 60%
              ทองเหลือง 40%
บัดกรีนาก ทองคำ 30%
                   ทองแดง 35%
                           เงิน 35%
     หลอมรวมกันแล้วตะไบให้เป็นผงละเอียด ใส่ผงเพ่งแซผสมลงไปด้วยเพื่อช่วยในการหลอมละลาย
วิธีทำเครื่องประดับ ที่ติดเสื้อด้วยวิธีบัดกรี
     -    ออกแบบรูปร่างของสิ่งที่จะทำไว้ก่อน ขนาดที่ออกแบบควรให้ขนาดเท่ากับของจริงที่จะทำ
     -    ขัดโลหะที่จะทำให้เรียบร้อย ขัดทั้งกระดาษทรายและขัดยาดินเหลือง ยาดินแดง ด้วยเครื่องขัดหัวสักหลาด
     -    นำแผ่นโลหะที่จะบัดกรี มาวางซ้อนกัน   ใส่ผงบัดกรีทองคำ  นาก   ทองขาว   หรือเงินที่ต้องการให้บัดกรีติดกัน โดยดูว่า โลหะที่จะบัดกรีนั้นเป็นอะไร   ใส่ผงบัดกรี   ตรงบริเวณที่ต้องการจะบัดกรี   เป่าความร้อนด้วยหัวเป่าแล่น หรือหัวเป่าซึ่งให้ ความร้อนจากแก๊ส พิจารณาดูผงบัดกรีละลาย และแผ่นโลหะแดง จึงหยุดการให้ความร้อน
     -    คีบแผ่นโลหะที่กำลังร้อนแดงมาใส่ในถังน้ำเย็น   ทิ้งไว้สักครู่จึงนำขึ้นมาดูว่าติดสนิทดีหรือไม่
     -    นำไปขัดมัน ด้วยเครื่องขัดหัวสักหลาดอีกครั้งหนึ่ง   ในกรณีที่โลหะไม่สะอาดให้ล้างขัดถูด้วยแปรงไนลอนนุ่ม และน้ำยา ทำความสะอาดให้สิ่งสกปรกออกให้หมดแล้วจึงนำไปขัดด้วยเครื่องขัดสักหลาดขั้น สุดท้าย
     -    ในกรณีที่ต้องติดเข็มกลัดด้านหลัง ให้นำเข็มกลัดมาบัดกรีในตอนหลัง
วิธีบัดกรีโลหะ
     -    วางแผ่นโลหะที่จะบัดกรีบนตะแกรงเหล็ก เพื่อให้สามารถเป่าความร้อนได้ทั้งข้างบนและข้างล่าง
     -    ใส่น้ำประสานตามชนิดของโลหะ เช่น บัดกรีเงินจะใช้กับแผ่นโลหะที่เป็นเงิน ใส่ผงประสานเพียงเล็กน้อย
     -    เป่าด้วยไฟ ถ้าเป็นเครื่องเป่าแล่นให้ลดความแรงที่หัวจุดก่อน ใช้เท้าเหยียบให้ลมขึ้นแล้วใช้ไม้ขีดจุดที่หัว ถ้าเป็นหัวเป่าไฟ ชนิดแก๊ส ปรับหัวแก๊สแล้วจุดไฟได้เลย
     -    ถ้าแผ่นโลหะหนามาก ให้ความร้อนทั้งด้านบนและด้านล่าง
การทำเครื่องประดับ ด้วยวิธีฝังหิน
     วิธีฝังหิน ( Bezel ) เป็นวิธีหนึ่งที่เพิ่มความสวยงาม และสีสรรพ์อย่างชัดเจนให้กับผลงาน สีของหินเป็นสิ่งหนึ่ง ที่เพิ่มการ ดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี และถ้าได้รับการออกแบบสวยงามกลมกลืนด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เครื่องประดับชิ้นนั้น เด่นชัด มีความสมบูรณ์อย่างน่าสนใจ   ซึ่งความสมบูรณ์ในที่นี้ หมายถึง   ออกแบบได้งดงามสะดุดตา   สมคุณค่า ทั้งทางด้านวัสดุ และประโยชน์ใช้สอย
     การออกแบบเครื่องประดับที่ใช้หินฝัง   การออกแบบโลหะมักจะนิยมใช้ผิวโลหะเรียบ เน้นจุดเด่นที่หิน   และถ้าหินนั้นสีสวย หรือเป็นหินที่มีราคาแพงด้วยแล้ว   จะออกแบบให้หินเด่นชัด กว่าส่วนอื่น ๆ   หินที่ใช้ในการทำเครื่องประดับ   มีทั้งหินแท้ และหินเทียม   หินแท้จะมีราคาแพงกว่าหินเทียมมาก   หินแท้ได้แก่  เพชร  พลอยสี   มรกต  ทับทิม  บุษราคัม   ฯลฯ  หินเทียม ได้แก่ การใช้แก้วมาอัด ด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีสีเหมือนของจริงมากที่สุด ถ้าดูเพียงผิวเผินจะไม่รู้ว่าเป็นของแท้ หรือของเทียม จนกว่าจะใช้แว่นขยายช่วยส่องดูจึงจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
     การเจียระไนหินมีหลายแบบ แต่แบบที่นิยม และจัดว่ามีราคาได้แก่ การเจียระไนเป็นเหลี่ยม แบบเหลี่ยมชนิดกลม แบบเหลี่ยม ชนิดเมล็ดแดง แบบสามเหลี่ยม การเจียระไนแบบเหลี่ยมจะเพิ่มความแวววาวของหินได้มาก
     แบบการเจียระไนหินอีกแบบหนึ่งที่นิยมมาก ได้แก่ การเจียระไนแบบหลังเต่า มีลักษณะแบบกลมนูนไม่เป็นเหลี่ยม การเจียระไน แบบนี้ มักใช้กับหินที่ไม่มีราคามากนัก เช่น โป่งข่าม หินอ่อน หินสีต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากการเจียระไนหิน ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การออกแบบ และวิธีทำจึงไม่เหมือนกันด้วย
แบบการฝังหิน      1. การฝังหินแบบหุ้มขอบหรือตะเข็บข้าง ( Closed Setting )
     2. การฝังหินแบบเกาะหรือแบบกรงเล็บ ( Claw Setting )
     3. การฝังหินแบบมงกฎ ( Crown Setting )
ชนิดของหิน และรูปแบบการเจียระไน      -    แบบหินชนิดทรงกลมขนาดต่างๆ กัน ซึ่งคิดหน้าตัดเป็นมิลลิเมตร
     -    แบบหินชนิดจัตุรัสขนาดต่างๆ คิดหน้าตัดเป็นมิลลิเมตร
     -    แบบหินชนิดทรงรีขนาดต่างๆ กัน ซึ่งคิดหน้าตัดเป็นมิลลิเมตร
การฝังหินแบบหุ้มขอบ      เป็นการฝังหินแบบหุ้มขอบ ปิดขอบด้านข้างให้มิดชิด การปิดขอบอาจจะปิดทั้งด้านข้างและด้านล่าง หรือจะปิดเฉพาะด้านข้าง แต่ด้านล่างไม่ปิดก็ได้ เป็นการฝังหินที่มีความคงทนถาวรมาก สามารถติดหินได้มั่นคง แต่ข้อเสียคือ แสงสว่างเข้าไม่ได้ทุกด้าน ทำให้หินไม่แววาวเท่าที่ควร แต่ก็นิยมใช้กันมากทั่วไป
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการ ฝังหินแบบหุ้มขอบ
     -    แผ่นโลหะรีดหนาประมาณ 22 - 25 เกจ สำหรับทำเป็นตัวเครื่องประดับ เช่น แหวน หรือที่ติดเสื้อ
     -   แผ่นโลหะรีดบาง ขนาดความหนา 27 - 30 เกจ
     -    คันเลื่อยฉลุพร้อมใบเลื่อยฉลุโลหะ
     -   กระดาษทรายน้ำ เบอร์หยาบไปจนถึงเบอร์ละเอียด
     -   กระดาษขัดเงา
     -   สว่านมือ ไม้ชายธง ปากกาหนีบ
     -    เครื่องเป่าแล่นพร้อมหัวบัดกรีและคีมจับของร้อน
     -   น้ำยาประสาน พู่กัน อ่างน้ำเย็น
วิธีการฝังหินแบบหุ้มขอบ      -    ออกแบบเครื่องประดับเป็นที่ติดเสื้อ   จี้ห้อยคอ  กำไลข้อมือ  แหวน   อย่างใดอย่างหนึ่ง   การออกแบบควรใช้หินประกอบ ในการออกแบบไว้ด้วย และให้แบบเท่ากับหินที่จะใช้ทำจริง ๆ  ลงน้ำหนักลวดลายให้ชัดเจน
     -    ฉลุแผ่นโลหะตามแบบและขัดแผ่นโลหะตามลำดับขั้นตอนของการขัด ( ดูในหัวข้อการขัดโลหะ )
     -    ใช้กระดาษแข็งวัดที่ขอบหินด้านล่างของหินที่จะฝัง   และนำกระดาษมาวัด กับแผ่นโลหะที่รีดไว้บางขนาด  27 - 30  เกจ ตัดโลหะให้เท่ากับกระดาษ
     -    บัดกรีให้ปลายขอบติดกัน แล้วตัดให้เป็นรูปทรงของหิน ขัดให้รอยต่อหายไป
     -    วางขอบโลหะติดกับแผ่นโลหะ   ใส่ผงประสานข้างในวงขอบ   หลอมความร้อนจากข้างล่าง จากแผ่นโลหะที่วางซ้อน บัดกรีให้น้ำประสานละลาย   และนำไปขัดด้วยเครื่องขัดเงา
     -   ใส่หัวหินลงไป   และใช้เหล็กปลายมน   หรือด้ามไม้กดให้ตะเข็บโลหะหุ้มหินให้แน่น
     ก่อนบัดกรีให้ทาเคลือบด้วยน้ำยาขัดโลหะบรัสโซ   หลังจากบัดกรีแลัวให้นำไปล้างขัดด้วยส้มมะขาม ให้สิ่งสกปรกหลุดออกไป ให้หมด อย่าลงขัดด้วยกระดาษทรายอีก จะทำให้ผิวบัดกรีโลหะไม่เรียบ และถ้าจะติดเข็มกลัด ให้บัดกรีติดเข็มกลัด ก่อนที่จะนำมา บัดกรีใส่ขอบวงหิน การติดเข็มกลัดให้อ่านรายละเอียดในวิธีการติดเข็มกลัด ในกรณีที่หินมีลักษณะนูนต่ำ หยอดครั่ง รองให้พื้น สูงขึ้น เพื่อจะได้หนุนให้หินสูงขึ้นมีความสวยงาม ไม่จมลงไปในขอบซึ่งอาจจะทำให้ตะเข็บย่นได้
     ในกรณีที่หินคับเกินไป ดัดให้ขอบด้านที่จะใส่หินบานขยายออกเล็กน้อย และใช้กาวติดหินช่วยในบางส่วน ข้อสำคัญ ต้องซ่อน รอยติดให้มิดชิด ในกรณีที่หินหลวมเกินไปให้หนุนด้านข้างด้วยสักหลาดหรือครั่ง ติดกาวที่ด้านล่าง ไม่ให้ขยับเขยื้อนได้
การฝังหินแบบเกาะหรือ แบบกรงเล็บ      ในปัจจุบัน   การฝังหินแบบเกาะ   หรือแบบกรงเล็บเป็นที่นิยมมาก   เพราะเห็นความสวยงามของหิน ทั้งด้านหน้า  ด้านข้าง เมื่อส่องกับแสงสว่าง ยังมีความงดงามแวววาวมาก   แสดงเหลี่ยมการเจียระไนของหินได้เต็มที่   วิธีนี้นิยมใช้กับเครื่องประดับ ที่เป็นแหวน   มากกว่าเครื่องประดับอย่างอื่น   แบบเกาะมีหลายแบบ  เช่น   แบบเกาะชนิดมีสี่ขา  ห้าขา   หกขา  แบบเกาะมีทั้ง แบบกลม   และแบบเหลี่ยม   การจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหิน การทำขาเกาะหินมีทั้งแบบบัดกรี และแบบหล่อ เป็นรูปสำเร็จ สำหรับในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการเกาะหินแบบบัดกรีก่อน ส่วนการทำขาเกาะหินแบบหล่อจะขอกล่าวในวิธีการหล่อ
วิธีการฝังหินแบบเกาะหรือ แบบกรงเล็บ
     -    ออกแบบที่จะทำไว้ก่อน หินที่นำมาใช้นิยมชนิดเจียระไนแบบเหลี่ยม
     -    ตัดเส้นลวดซึ่งเป็นโลหะชนิดเดียวกับที่ใช้ทำตัวแหวน ลวดขนาดประมาณ 18 เกจ ตัดเส้นลวดขนาดความยาว 1/2 นิ้ว
     -    ตัดเส้นลวดให้เป็นรูปตัว  V   ทั้งหกอัน   และนำแต่ละอันมาวางเรียงต่อ ๆ กัน  ใส่น้ำยาประสานลงไป บัดกรีด้วยความร้อน ให้ก้านลวดติดกันทั้งหมด
     -    นำไปวางบนวงแหวนบัดกรีให้ติดกับวงแหวน ในขณะที่ทำให้วัดจากวงแหวนที่จะใส่ทุกครั้ง
     -    ตัดลวดให้เป็นวงกลม บัดกรีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง   และนำมาดัดให้กางออก   ขนานความกว้างให้เท่ากับขนาดของหินที่จะฝัง
     -    ตกแต่งด้วยสว่านไฟฟ้าชนิดที่ใช้ตกแต่ง ทำที่เกาะหินโดยเฉพาะ และในบางส่วน อาจจะตกแต่งด้วยใบเลื่อย เพื่อให้การ ฝังหิน กระชับ และเป็นหนามเตยสำหรับเกาะหินให้ติดอยู่ไม่หลุดง่าย
     -     กดหัวหินลงกับพื้นที่มีผ้านุ่ม ๆ  รองรับ   ให้หินพอดีกับขาที่ทำไว้
     -     ใช้คีมบีบให้ขาเกาะแน่นขึ้น   และใช้ตะไบตกแต่งให้เรียบร้อยอีกครั้งหนึ่งได้
ที่มา: จากหนังสือ "ศิลปะเครื่องประดับ" โดย วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ
แหล่งที่มา : www.patchra.net