การหล่อเครื่องประดับ


การหล่อเครื่องประดับ

คุณสมบัติสำหรับการ หล่อโลหะ
     วิธีหล่อ  ( Castting )   เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายอีกวิธีหนึ่ง   โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ต้องการผลงานเหมือนๆ   กันหลายๆ ชิ้น และที่นิยมมาก   คือการหล่อแหวน   เหตุที่วิธีหล่อเป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถเก็บรายละเอียดต่างๆ   ของผลงานได้ทั้งหมด และยังได้ ผลงานเหมือน ๆ   กันโดยไม่ต้องเสียเวลามาก   การหล่อเครื่องประดับจะต้องมีการใช้แม่พิมพ์   มีการทำหุ่น   ที่จะเป็นแม่พิมพ์ไว้ก่อน แม่พิมพ์ที่ใช้มีทั้งชนิดถาวร   และชั่วคราว   แม่พิมพ์ถาวรเป็นที่นิยมในวงการอุตสาหกรรม   เนื่องจากการทำหุ่นสำหรับสร้างแม่พิมพ์ ทำได้จากวัสดุหลายอย่าง  เช่น   การทำแม่พิมพ์จากหิน   การทำแม่พิมพ์จากกระดูก   การทำแม่พิมพ์จากปูนพลาสเตอร์ การทำแม่พิมพ์ จากถ่านชาร์โคล
คุณสมบัติทั่วไปสำหรับการ หล่อด้วยวิธีต่างๆ
     -    สามารถผลิตได้ทั้งประเภทรูปร่างธรรมดาและรูปร่างซับซ้อน
     -    การผลิตงานด้วยวิธีการต่างๆ สามารถใช้วิธีหล่อเข้ามาแทนได้
     -    สามารถหล่องานออกมาได้ตามขนาด
     -    สามารถเลือกโลหะผสมชนิดต่างๆ ได้
     -    สามารถลดเศษเสียจากการตัดแต่งด้วยเครื่องจักรได้มาก
การออกแบบควรคำนึงถึงหัวข้อ ต่อไปนี้
     -    รูปร่างของงานควรให้เหมาะสมกับการผลิตโดยวิธีหล่อ
     -    พิจารณาเลือกกรรมวิธีในการหล่อให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
การเลือกวิธีหล่อเพื่อให้ เหมาะสมกับงาน
     -    รูปร่างสลับซับซ้อนเพียงใด
     -    ปริมาณของงานที่ทำการผลิต
     -    ความประณีตของผิวงาน ความแข็งแรงทนทานของงาน
วิธีทำแหวนด้วยหุ่นขี้ ผึ้งและแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์
     -    ออกแบบรูปทรงของแหวนที่จะทำลงบนกระดาษ ให้ขนาดเท่ากับของจริง
     -    เลือกขี้ผึ้งที่มีความแข็งมาก ๆ   และมีความหนาประมาณ  1/2 นิ้ว   เจาะวงในช่องตรงกลาง   ให้ขนาดวงกลม   เท่ากับนิ้วมือ ที่จะสวม
     -    เผาให้ความร้อนระเมิดแหวน ให้ร้อน แล้วนำมาสวมกับขี้ผึ้งที่ทำวงกลมไว้
     -    ฉลุด้วยเครื่องฉลุให้โค้งเป็นรูปวงแหวน   และใช้ตะไบถูให้เรียบ   จะใช้เครื่องขัดไฟฟ้าชนิดที่ใช้มือจับช่วยขัดในบางทีก็ได้ ถ้าไม่มีเครื่องขัดไฟฟ้าให้ขัดด้วยกระดาษทราย หรือตะไบ
     -    การทำแม่พิมพ์   หลังจากได้วงแหวนจากขี้ผึ้งสมบูรณ์แล้ว   นำไปชั่งน้ำหนักของขี้ผึ้ง   เพื่อเทียบว่าจะใช้โลหะน้ำหนักเท่าไร และจดน้ำหนักไว้   นำวงแหวนขี้ผึ้งมาติดกับแผ่นยาง   แผ่นยางนี้จะสวมปิดเป็นฝากระป๋องสำหรับเผาในเตาเผาให้ปูนสุกได้เลย
     -    ทำก้านแหวนด้วยขี้ผึ้ง   ถ้าต้องการจะดัด หรือต่อขี้ผึ้ง   จะต้องลนไฟให้ความร้อนทุกครั้ง   และนำมาติดกับแผ่นยาง   โดยใช้ ดินน้ำมันติด   และใช้พู่กันจุ่มแอลกอฮอล์ทาให้ทั้ววงแหวนขี้ผึ้ง
     -     ครอบกระบอกเหล็กปิดให้พอดีกับฝายาง ผสมปูนพลาสเตอร์กับน้ำเทลงไปในกระบอกเหล็ก และใช้ของแข็ง เคาะข้างกระป๋อง ให้ฟองอากาศขึ้นหมด   เทปูนพลาสเตอร์ให้สูงจากหุ่นประมาณ   1  นิ้ว   ทิ้งไว้ประมาณหนึ่งคืน ให้ปูนแห้ง   และให้เอาเข้าเตาอบ ในวันรุ่งขึ้น   ก่อนใส่เตาอบเอาฝายางที่ครอบไว้กับกระบอกออก   เปิดไฟให้ความร้อนประมาณ  800   องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณเวลา ว่าปูนสุก และขี้ผึ้งละลาย   สำหรับหุ่นเล็กประนาณ  30   นาที  ถ้าหุ่นใหญ่ขึ้ผึ้งหนา ประมาณ  45  นาที
     -    หลอมละลายโลหะ   ผู้หลอมต้องใช้หน้ากาก หรือแว่นตากรองแสง สวมไว้ทุกครั้ง   เปิดหัวบัดกรีแก๊ส ให้ความร้อนสูง หลอมละลายโลหะในเบ้า   ใส่ผงเพ่งแซ   ช่วยให้หลอมละลายเร็ว   ความร้อนโดยเฉลี่ยประมาณ  1750 - 1775  องศาฟาเรนไฮด์ เทลงไปในช่อง   ของกระบอกเหล็กที่เปิดอยู่   และใช้ปาหคีมจับกระบอกมาแช่ในน้ำ   ปูนพลาสเตอร์จะหลุดออกหมด   เหลือแต่โลหะ ซึ่งเป็นวงแหวนไว้   นำวงแหวนไปขัดตกแต่งด้วยตะไบ   หรือเครื่องขัดให้สวยงามต่อไป
สิ่งที่ควรจำในการหล่อแหวน
     1. การทำแหวนของผู้หญิง หรือทำเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ควรใช้ความร้อน 1000 - 1100 องศาฟาเรนไฮด์ ส่วนแหวนของ ผู้ชาย หรือเครื่องประดับที่มีน้ำหนักมากใช้ความร้อน 700 - 900 องศาฟาเรนไฮด์
     2. ซั่งน้ำหนักของขี้ผึ้งที่ทำเป็นหุ่น และนำน้ำหนักมาหาน้ำหนักของโลหะ เพื่อให้ได้จำนวนโลหะหล่อหลอมพอดี
การหล่อโลหะด้วยแม่ พิมพ์ถ่านชาร์โคล
     การทำแม่พิมพ์จากถ่านชาร์โคล   เป็นการทำแม่พิมพ์ที่สะดวกกว่า การทำแม่พิมพ์จากปูนพลาสเตอร์   เพราะเมื่อทำแม่พิมพ์แล้ว สามารถหล่อได้เลย
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการ หล่อด้วยแม่พิมพ์ถ่านชาร์โคล
     -    ถ่านชาร์โคลชนิดแท่งสี่เหลี่ยม อย่างแข็ง
     -    เครื่องมือแกะสลักไม้
     -    เครื่องมือหล่อ ได้แก่ หัวเป่า เบ้าหลอม
     -    กระดาษทรายน้ำ
     -    ถัง หรืออ่างใส่น้ำ
วิธีการหล่อด้วยแม่พิมพ์ชาร์โคล
     -    ออกแบบรูปทรงสิ่งของที่จะทำลงบนกระดาษ
     -    ใช้เครื่องมือแกะสลักให้เป็นร่องลึกตามแบบที่ต้องการบนแท่งชาร์โคล วิธีแกะ จะแกะให้เป็นร่องลึกเพียงด้านเดียว หรือทั้งสอง ด้านก็ได้ การแกะให้ร่องลึกด้านเดียว ผลงานที่ออกมาจะนูนเพียงด้านเดียว   ถ้าแกะให้เป็นร่องลึกทั้งสองด้าน   แล้วนำมาประกบกัน ตอนหล่อจะได้ผลงานที่เห็นลวดลายทั้งสองด้าน   คือเป็นแบบลอยตัว
( Round relief )
     -    ใช้กระดาษทรายขัดบริเวณที่แกะ หรือขูดให้เรียบไม่เป็นขุย
     -    ใช้หัวเป่าแล่นชนิดใช้แก๊ส   เป่าให้ความร้อนโลหะในเบ้าหลอมละลาย   ใส่ผงเพ่งแซช่วยหลอมละลายลงไปด้วย
     -    เทโลหะซึ่งละลายตัวเป็นของเหลว ลงในแม่พิมพ์
     -    เมื่อโลหะแข็งตัวแล้ว   แกะออกจากแม่พิมพ์   นำไปแช่ในถังใส่น้ำให้โลหะเย็น   แล้วจึงนำไปขัดล้างให้สะอาด
     -    นำไปตกแต่งด้วยเครื่องเชื่อม  ( เครื่องบัดกรี )   หรือขัดให้ขึ้นเงาด้วยเครื่องขัดหัวสักหลาดต่อไป
อุปกรณ์ประกอบการทำ เครื่องประดับ
     เครื่องประดับส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มาประกอบ   จึงจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม   และสมบูรณ์ด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น ต่างหู ต้องมีแป้นต่างหูมาติด หลังจากที่ทำต่างหูเสร็จแล้ว สร้อยคอต้องมีห่วง ตะขอ หรือเข็มกลัดติดเสื้อต้องมีเข็มกลัดด้านหลัง จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น
ที่มา: จากหนังสือ "ศิลปะเครื่องประดับ" โดย วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ
แหล่งที่มา : www.patchra.net