เครื่องมือและอุปกรณ์ทำเครื่องประดับ

เครื่องมือและอุปกรณ์ทำเครื่องประดับ
เครื่องมือและอุปกรณ์
     การทำเครื่องประดับมีอยู่หลายวิธี วิธีที่นิยมใช้กันแพร่หลายได้แก่ วิธีคิดประดัษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่นโดยใช้วิธีฉลุ วิธีต่อประกอบ ด้วยกาว วิธีร้อยเรียงต่อๆ กัน วิธีบัดกรี ตลอดจนวิธีหล่อแบบง่ายๆ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ในการเรียนรู้จึงควรมีเครื่องมือและอุปกรณ์ครบพอสมควร และควรจะรู้จักใช้เครื่องมือไว้ก่อน เพื่อให้การทำงานเป็นไป อย่างสะดวกรวดเร็ว
คันเลื่อยฉลุ  (Jeweler's saw )      คันเลื่อยฉลุมีทั้งชนิดเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้   และชนิดที่เลื่อนไม่ได้  การใส่ใบเลื่อย  จะต้องใส่ให้ตึง  และฟันของใบเลื่อยจะอยู่ ในลักษณะนอนลง ใช้ปลายนิ้วมือลูบจะอยู่ในลักษณะนอนลงไม่บาดมือ หากดีดดูจะมีเสียงกังวาน วิธีใส่ใบเลื่อย ให้ใส่ที่นอตที่หัว ด้านบนก่อน ขันให้ตึง แล้วจึงใส่นอตด้านล่าง และขันที่นอตต้านตรงข้ามกันให้แน่น
ปากกาหนีบ ( C - Clamp ) และไม้ชายธง
     ปากกาหนีบ ใช้หนีบกับไม้ชายธงติดกับขอบโต๊ะ สำหรับรองแผ่นโลหะ ที่จะฉลุแผ่นโลหะจะไม่คดงอ และเคลื่อนไหวไปมา ได้อย่างสะดวก ทำให้การเลื่อยฉลุเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และช่วยให้ใบเลื่อยไม่หักง่าย
สว่านมือ ( Hand drill )
    
สำหรับเจาะรูลวดลายเพื่อที่จะใส่ใบเลื่อยฉลุได ้ และเจาะรูสำหรับใส่ห่วงต่าง ๆ   วิธีใส่ดอก  ต้องหมุนให้ปากจับเปิดอ้า ใส่ดอกสว่าน ดูให้ดอกสว่านตั้งตรง และหมุนที่ปากหนีบให้แน่น ขณะเจาะโลหะตั้งตัวสว่านให้ตรง ไม้ต้องออกแรงกด หมุนเบาๆ ดอกสว่าน จะเคลื่อนเจาะให้แผ่นโลหะทะลุเอง ข้อควรระวังในการใช้คือ จับ และหมุนที่หมุนให้มั่นคง แต่อย่ากดน้ำหนักที่ด้ามจับ จะทำให้ ดอกสว่านหักได้ง่าย
คีมตัด ( Flat-nosed and Round-nosed pliers )
    
ใช้สำหรับดัดและจับห่วงให้ถนัดมือ ใช้บีบให้ห่วงชิดสนิท
กรรไกรตัดโลหะ ( Hand shear )
    
ใช้ตัดแผ่นโลหะบางๆ ให้ขาดออกจากกัน แต่กรรไกรนี้ไม่ควรตัดสิ่งของอื่นๆ ที่ไม่ใช่โลหะ หรือใช้กับโลหะที่มีความหนาเกินไป จะทำให้กรรไกรไม่คม
ระเมิดแขน และระเมิดแหวน ( Ring mangrel )
    
สำหรับใช้ดัดโลหะให้เป็นรูปกำไลมือ   และแหวน  ทั้งสองอย่างนี้  มีขนาดต่างกันมาก  วิธีใส่โลหะที่ฉลุ  และขัดเรียบร้อยแล้ว ไปที่ระเมิดแขน  หรือแหวน  และใช้มือดัดตามรูป  จากใหญ่สุดไปหาเล็กสุดแล้วใช้ผ้านุ่มพันทับ   หรือรองก่อนที่จะใช้ค้อนตอก ให้ได้รูปยิ่งขึ้น  ค้อนที่ใช้ตอกควรเป็นค้อนยาง  การดัดควรเป็นขั้นสุดท้ายของเครื่องประดับ   เมื่อดัดแล้วจะไม่นำไปทำอะไรอีก นอกจากขัดเงา
ตะไบ ( Fill )
    
ควรมีทั้งตะไบใหญ่ และตะไบเล็ก ตะไบใหญ่ ขนาดความยาวประมาณ 6 นิ้ว ตะไบเล็ก ขนาดความยาวประมาณ 4 นิ้ว
ตะไบเล็กที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้มีอยู่ 6 แบบ
    คือ
     1.
ตะไบเล็กชนิดกลม ใช้ในกรณีที่ต้องการขัดรูที่เจาะเป็นรูปวงกลมให้เรียบ
     2.
ตะไบเล็กชนิดท้องปลิง คือด้านหนึ่งโค้งอีกด้านหนึ่งเรียบตรง ใช้ขัดในกรณีต ้องการให้ด้านข้างโลหะเรียบ และเป็นส่วนที่เป็นเส้นโค้ง
     3.
ตะไบเล็กชนิดสามเหลี่ยม ใช้ขัดรอยต่อของโลหะ มุมที่หักเป็นรูปสามเหลี่ยมให้เรียบ
     4.
ตะไบเล็กชนิดปากมีด ใช้ขัดตามซอกโลหะเล็กๆ ให้เรียบ
     5.
ตะไบเล็กชนิดทรงรี ใช้ขัดส่วนโค้งของโลหะให้เรียบ
     6.
ตะไบเล็กชนิดสี่เหลี่ยม ใช้ขัดโลหะที่ด้านตรงให้เรียบ
     วิธีใช้ตะไบขัดโลหะ ให้ใช้ตะไบถูบริเวณที่สันโลหะไปทางเดียวตลอด อย่าถูกลับไปมา การถูกลับไปมา จะทำให้สันโลหะเรียบช้า วิธีถูให้ถูอย่างเบามือเพื่อให้เสียโลหะน้อยที่สุด ยิ่งถ้าเป็นโลหะที่มีราคาแพง เช่น ทองคำ ยิ่งต้องถูอย่างระมัดระวังมากขึ้น และผงทอง ที่ถูนั้นสามารถเก็บมาหลอมใช้ได้อีก
ค้อน ( Hammer )      เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เคาะขึ้นรูป ให้ได้รูปทรงตามต้องการ
เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการบัดกรี
     -  
กระดานทนไฟ ใช้สำหรับรองแผ่นโลหะเวลาบัดกรี
เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการขัดโลหะ
     -  
ตะไบขนาดต่างๆ
     -   
สักหลาดกลมขนาดต่างๆ
     -  
กระดาษทรายน้ำ ตั้งแต่ หยาบจนถึงละเอียด
     -  
กระดาษขัดเงา
     -  
ยาดินแดง ยาดินเหลือง ใช้สำหรับทากับสักหลาดก่อนที่จะขัด
     -   
เครื่องขัดไฟฟ้าซึ่งใช้ประกอบกับสักหลาดสำหรับขัด
     -   
ตะแกรงเหล็กสำหรับวางแผ่นโลหะเวลาบัดกรี
     -   
คีมจับแผ่นโลหะที่กำลังร้อน
     -   
หม้อแช่ให้แผ่นโลหะเย็น
     -  
หัวบัดกรี เตาแก๊ส
     -   
น้ำยาประสานเงินเป็นตัวหลอมละลาย และผงเพ่งแซ
     -  
บรัลโซ เคลือบก่อนบัดกรี
วิธีขัดแผ่นโลหะที่ใช้ ทำเครื่องประดับ
    
แผ่นโลหะที่ฉลุเป็นลวดลายเตรียมที่จะทำเป็นเครื่องประดับนั้น จะต้องขัดให้ขึ้นเงา ให้ผิวโลหะแวววาวเรียบสนิทอย่างที่สุดก่อน จึงจะนำไปบัดกรีหรือทำประกอบอย่างอื่นได้ ในขณะที่ผิวโลหะยังลายอยู่นั้น ควรจะขัดด้วยกระดาษทรายน้ำเบอร์หยาบ โดยจะใช้กับ โลหะที่มีความแข็งมากเช่น ทองเหลือง ทองแดง ทองขาว เป็นต้น ส่วนโลหะที่ราคาแพง เช่น ทองคำ นาก หรือเงิน เราจะใช้แผ่น กระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียดมากๆ ขัดอย่างเบามือ
    
วิธีขัดให้ถูกระดาษทรายน้ำไปด้านเดียวตลอดก่อน หากจะวางแผ่นโลหะด้านใดด้านหนึ่งให้วางบนผ้านุ่มๆ และวางลงบนโต๊ะที่มี ผิวราบเสมอกัน หลังจากขัดไปด้านเดียวตลอด จนได้ผิวที่เรียบขึ้นเงาพอสมควรแล้ว ใช้ขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียดรองลงมา สลับไปสลับมา ยิ่งขัดกระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียดนานเท่าไร จะทำให้ผิวโลหะราบเรียบเป็นเงายิ่งขึ้น หลังจากขัดกระดาษทรายน้ำ เบอร์ละเอียด จนไม่มีรอยขีดเล็กๆ แล้ว ให้ขัดด้วยกระดาษขัดเงา วิธีขัดคงขัดเช่นเดียวกับการขัดกระดาษทรายน้ำ แล้วจึงนำไปขัดเงา ด้วยเครื่องขัดหัวสักหลาดในขั้นสุดท้าย
    
ก่อนที่จะนำไปขัดด้วยเครื่องขัด ให้ขัดด้านขอบโลหะด้วยตะไบ ถ้าบริเวณที่เป็นส่วนโค้งด้านข้าง ให้ใช้ตะไบท้องปลิง หรือตะไบกลม ขัดส่วนที่เป็นด้านตรงใช้ตะไบตรงขัด และตกแต่งด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด การขัดด้วยตะไบให้ถูไปด้านเดียว การขัดโลหะที่ขัดด้วยกระดาษทรายจนเรียบแล้ว และจะนำมาขัดกับเครื่องขัดหัวสักหลาด ให้ทายาดินเหลืองขัดไปครั้งหนึ่งก่อน แล้วจึงขัดด้วยยาดินแดง หัวสักหลาดที่ทายาดินเหลืองแล้วไม่ควรทายาดินแดงซ้ำ ให้เปลี่ยนหัวสักหลาดก่อนที่จะทายาดินอีกสีหนึ่ง วิธีใช้เครื่องขัดไฟฟ้า ให้เสียบปลั๊กไฟก่อน และเปิดสวิตช์ให้เครื่องเดิน แนบข้อศอกให้ชิดกับลำตัว มือทั้งสองจับแผ่นโลหะถูขึ้นเบาๆ ไม่ต้องออกแรงกดมาก เพราะถ้ากดแรงๆ ผิวโลหะจะเป็นคลื่นไม่เป็นเงาและเรียบ
ที่มา: จากหนังสือ "ศิลปะเครื่องประดับ" โดย วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ
แหล่งที่มา : www.patchra.net